
การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ช่วยในการรักษาโรค ป้องกันโรค ฟื้นฟู และสร้างเสริมสุขภาพตามหลักของแพทย์แผนจีน ซึ่งแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็ก (0.1-0.3 มิลลิเมตร) ฝังตามจุดต่าง ๆ บนร่างกาย ปัจจุบันองค์การอนามัยโรค (WHO) ได้รับรองให้การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาโรค ได้แก่ กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคทางสูตินารีเวช เป็นต้น
การครอบแก้ว (CUPPING) บำบัดโรค การครอบแก้ว คือ ถ้วยแก้วกระบอกสุญญากาศซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ ใช้ความร้อนขับไล่อากาศภายในถ้วยออกจนเกิดสูญญากาศขึ้น วางบริเวณจุดเส้นลมปราณบนร่างกาย ถ้วยแก้วจะดูดกล้ามเนื้อขึ้นเพื่อกระตุ้นเลือดลมบริเวณตำแหน่งที่ถูกครอบแก้ว ทำให้ผิวหนังบริเวณครอบแก้วเป็นจ้ำ ๆ สีแดง สีแดงคล้ำบางสีออกอมม่วงเข้ม ซึ่งสีที่แสดงออกมาของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกัน คือ เกิดการสะสมของเสีย และเลือด ที่อุดตันภายในกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด สีในการทำครอบแก้วครั้งแรกอาจมีสีเข้มในระดับ 10 พอทำครั้งที่ 2-3 ไปเรื่อย ๆ ระดับความเข้มของสีจะลดลง ซึ่งนั่นแสดงถึงผู้ป่วยมีอาการปวด เมื่อยกล้ามเนื้อดีขึ้น
การนวดทุยหนา (Tuina) คำว่าทุย แปลว่า ผลัก และคำว่าหนา แปลว่า ดึง หยิบ กล้ามเนื้อ ซึ่งแพทย์จะทำการรักษาเฉพาะจุด โดยการนวดกดคลึงนั้นจะใช้แรงสม่ำเสมอ คงที่ ไม่ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ จะมีสรรพคุณการรักษาโรคที่แตกต่างกันออกไป สามารถใช้แทนยาหรือการฝังเข็มได้ในบางโรค เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงผู้สูงอายุ ให้ความรู้สึกผ่อนคลายในขณะรับการรักษา ไม่มีผลข้างเคียงจากการนวด หรืออาจผสมผสานกับการฝังเข็ม หรือ สมุนไพรจีน เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่เร็วและยั่งยืน
ประโยชน์ของการฝังเข็ม
การฝังเข็มเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารต่าง ๆ ในระบบประสาท ฮอร์โมน และกลไกของร่างกายโดยรวม ช่วยทำให้เกิดฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การฝังเข็มยังเป็นการควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของอวัยวะทั้งยังช่วยปรับสมดุลในร่างกายอีกด้วย
แพทย์แผนจีนโดย คุณหมอ จิดาภา ช่วยชู (หมอโง้ย) รักษาอาการปวดอะไรบ้าง
- ออฟฟิศซินโดรม
- ปวดไมเกรน
- นิ้วล็อก (Trigger Finger)
- ฟื้นฟูภาวะ (Long Covid)
- ปวดท้องประจำเดือน
- ปวดสะโพกร้าวลงขา
- โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

มนุษย์หน้าคอม ออฟฟิศซินโดรม
- ปวดต้นคอ ปวดศีรษะ ปวดร้าวกระบอกตา
- ปวดตึงบริเวณบ่า ไหล่ ร้าวลงสะบัก
- ปวดข้อมือ มีอาการชาปลายมือ
- ปวดเมื่อยหลัง
- ปวดตึงขา
การรักษา
1.ฝังเข็ม
ลดอาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว เป็นการรักษาเฉพาะจุด (Trigger point)
2.ครอบแก้ว
ลดอาการปวด อาการกล้ามเนื้ออักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
3.นวดทุยหนา
การนวดด้วยเทคนิคเฉพาะของแพทย์แผนจีน เพื่อปรับให้กล้ามเนื้อกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

บอกลาไมเกรน
- ปวดศีรษะที่ขมับ ข้างใดข้างนึงหรือทั้งสองข้าง ปวดร้าวบริเวณเบ้าตา
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ตาพร่า ไวต่อแสงและเสียง
- ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ
การรักษา
1.ฝังเข็ม
ลดอาการปวดศีรษะ ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อต้นคอ เพิ่มการทำงานของระบบประสาทและฮอร์โมนให้กลับสู่ภาวะปกติ ปรับสมดุลช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
2.ครอบแก้ว
ลดอาการปวด อาการกล้ามเนื้ออักเสบบริเวณต้นคอและเบ้าตา เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
3.ยาจีน
ยาจีนที่มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต บำรุงลมปรานช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ลดภาวะเครียดและวิตกกังวล

แก้อาการ นิ้วล็อก (Trigger Finger)
การดูแลตัวเองเพื่อลดอาการบาดเจ็บจากโรคนิ้วล็อก
- หลีกเลี่ยงการเกร็งค้างฝ่ามือ การจับ บีบ หรือถือของเป็นระยะเวลานานกว่า 15 นาทีขึ้นไป
- หมั่นแช่มือในน้ำอุ่นสม่ำเสมอ ครั้งละ 15 – 20 นาที
- เน้นนวดกดจุด และยืดกล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือ เพื่อลดการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็น และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อมือ นิ้วมือและเส้นเอ็นนิ้วมือ โดยทำอย่างสม่ำเสมอช่วงเวลาเช้า – เย็น
- ก่อนและหลังเล่นกีฬาควรยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ บ่า แขน ข้อมือและนิ้วมือ เพิ่ม ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ทำครั้งละประมาน 10 -15 นาที
การรักษา
1.ฝังเข็ม
ลดอาการปวด ลดพังผืดและการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็น รักษาเฉพาะจุด (Trigger point)
2.นวดทุยหนา
การนวดด้วยเทคนิคเฉพาะของแพทย์แผนจีน เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็น

ฟื้นฟูภาวะ Long covid ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
หลังหายจากโควิด-19 คุณยังคงมีอาการเหล่านี้ หรือไม่?
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ไอและมีเสมหะเรื้อรัง
- ผมร่วง
- หายใจติดขัด
- ท้องเสียเรื้อรัง ขับถ่ายไม่ปกติ
- นอนไม่หลับ วิตกกังวล
- ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อ
การรักษา
แพทย์แผนจีนจะใช้วิธีการรักษาโดยการฟื้นฟูบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยวิธีการฝังเข็มยาจีน ครอบแก้วและนวดทุยหนา เพื่อให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วหากปล่อยทิ้งไว้นาน ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เจ็บป่วยได้ง่าย และมีโอกาสเสี่ยงได้รับเชื้ออีกครั้ง

แก้อาการปวดท้องประจำเดือน ด้วยแพทย์แผนจีน (Dysmenorrhea)
การรักษา
1.ฝังเข็ม (Acupuncture)
- ปรับสมดุลและบำรุงเส้นลมปราณตับและไต เพื่อฟื้นฟูการทำงานของระบบฮอร์โมน
- สร้างพลังหยางทำให้มดลูกอุ่น ลดอาการปวดตึงเกร็งบริเวณช่องท้อง
- กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและสลายเลือดคั่งเพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือน
- ปรับอาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ (PMS)
2.ครอบแก้ว (Cupping)
- ลดอาการปวด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- สำหรับผู้ที่ปวดเมื่อยช่วงบริเวณหลัง บั้นเอว และขา
3.แนะนำการทานอาหาร (Instruction for patient)
- แนะนำเรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือน และเสริมสร้างให้ระบบฮอร์โมนทำงานได้อย่างปกติ
4.ข้อแนะนำ (Precaution)
ควรเข้ารับการรักษาก่อนช่วงมีรอบเดือน 7 วัน

ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) เกิดจาก
- หมอนรองกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท
- ได้รับการบาดเจ็บบริเวณหลังและกระดูกเชิงกราน
- กล้ามเนื้อบริเวณสะโพกเกิดการอักเสบ
การรักษา
1.ฝังเข็ม (Acupuncture)
เพื่อลดอาการเจ็บปวด พังผืด และปรับการทำงานของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ
2.ครอบแก้ว (Cupping)
เพื่อลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
3.หมอมีคำแนะนำ (Instruction for patient)
- แนะนำท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวันที่ถูกต้อง เช่น ท่านั่งในการทำงาน ท่านอน และท่ายกของ เป็นต้น
- แนะนำประเภทการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย
- แนะนำการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการกลับมามีอาการซ้ำ

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ (Allergic Rhinitis)
การรักษา
1.ฝังเข็ม (Acupuncture) โดยการฝังเข็มจุดฝังเข็มอยู่บริเวณจมูก ได้แก่
- Yin Tang (印堂)
- Ying Xiang (迎香)
- Bi Tong (鼻通)
โดยทั้งสามจุดจะใช้ร่วมกับจุดบนเส้นลมปราณปอด ลดเสมหะ และภาวะร้อนในภายในระบบทางเดินหายใจ
2.การรมยา (Moxibustion)
เป็นวิธีการรักษาเฉพาะ โดยยาสมุนไพรจีน (ต้นอ้ายเยว่) ซึ่งมีความร้อนเป็นตัวนำพา เพื่อให้เส้นลมปราณปอดไม่ติดขัด เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดอาการอักเสบบริเวณโพรงจมูก

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- Face : ใบหน้าเบี้ยว
- Arm : แขนอ่อนแรงเฉียบพลัน
- Speech : พูดไม่ชัด
- Time : ระยะเวลาที่มีอาการต้องรักษาภายใน 3 ชั่วโมง
การรักษา
ฝังเข็ม (Acupuncture)
การรักษาด้วยการฝังเข็ม จะไปลดการส่งกระแสประสาทซิมพาเทติกที่มีปมประสาทวางเรียงอยู่ทั้งสองข้าง ของแนวไขสันหลัง ตั้งแต่บริเวณช่วงต้นคอถึงหลัง ปมประสาทในแต่ละช่วงจะควบคุมหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองทั้งหมด เมื่อฝังเข็มโดยใช้จุดฝังเข็มบริเวณดังกล่าว จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสกลับไปสู่ภาวะปกติ